วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ 5

การเพิ่มผลผลิต

ความหมายของการเพิ่มผลผลิต

                    การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ได้มีผู้ให้ความหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต เป็นต้น ซึ่งความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ

                   การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input) (แรงงาน เครื่องมือ วัตถุดิบ เครื่องจักร พลังงาน และอื่น ๆ ) กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต (Output) (ตู้เย็น รถยนต์ การขนส่ง) สามารถคำนวณได้จากการเพิ่มผลผลิต (Productivity) = ผลผลิต (Output) ปัจจัยการผลิต (Input)ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น น้ำหนัก เวลา ความยาว และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน

                   การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ (Consciousness of Mind) เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นเสมอทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากรพลังงาน และเงินตราที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับเพื่อหาความเจริญมั่นคงทาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยโดยรวม

แนวความคิดในการเพิ่มผลผลิต

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์

                การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการ ผลิตอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดนี้อาจใช้วิธีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และมุ้งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม
              การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นทัศนคติในจิตใจของคน ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ บนพื้นฐานของความเชื่อในความก้าวหน้าและความสามารถของมนุษย์ว่าเราสามารถทําวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานและพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ 

              แนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตนั้น เริ่มต้นจากการที่ Frederick W. Taylor เฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ ได้นำแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารช่วงปี ค.ศ. 1911 โดยเริ่มศึกษาและหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต อันเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการจัดการที่ยังมีข้อบกพร่องทั้งในด้านความรับผิดชอบของพนักงานมาตรฐานการปฏิบัติงาน นโยบายของผู้บริหารซึ่งอยู่ในสภาวการณ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน พนังงานอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ตนเองไม่มีความรู้ หรือขาดความถนัด ขาดทักษะในการทำงานสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้การผลิตตกต่ำลงได้ทั้งสิ้นเทเลอร์สนใจการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรเท่านั้นแต่ยังเพิ่มค่าตอบแทนสำหรับแรงงานโดยผ่านการเพิ่มผลผลิต เนื่องจากความกลัวของคนงานที่ว่าพวกเขาอาจจะต้องออกจากงาน จากการผลิตที่น้อยลงแทนที่จะมากขึ้น เทเลอร์คิดว่าปัญหาของการผลิตเนื่องมาจากฝายการจัดการและฝ่ายแรงงาน ผู้บริหารและคนงาน มุ่งส่วนที่เป็นส่วนเกินที่ได้จากผลผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างค่าจ้างและกำไร เทเลอร์พิจารณาการเพิ่มผลผลิตโดยปราศจากการใช้แรงงานและแรงจูงใจของคนเพิ่มขึ้น

                หลักการดังกล่าวถูกนำเข้าสู่ภาคปฏิบัติโดยพิจารณาปริมาณงานต่อวัน การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานที่ได้รับมอบหมายการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงานได้นำมาใช้อย่างมาก แผน การจ่ายเงินขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ใช้โดยพยายามเพิ่มสาวนเกินซึ่งเทเลอร์เรียกว่าการเพิ่มผลผลิต (Productivity) เพื่อให้แน่ใจว่าคนงานที่ทำการผลิตได้รับค่าจ้างขึ้นอยู่กับผลผลิตของเขา ทำให้เกิดสิ่งจูงใจแก่คนงานในการทำงาน เกิดการปรับปรุงการผลิต และการให้ผลตอบแทนตามผลผลิต เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย 

เหตุผลของการเพิ่มผลผลิต

                 การเพิ่มผลผลิต เป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนการผลิตในอนาคต เช่น การกําหนด ผลิตผลในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการไม่ก่อให้เกิดส่วนเกินอันเป็นการเสียทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้นทําให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงสามารถสู้กับคู่แข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตไม่ใช้เป้าหมายในตัวของมันเองแต่เป็นวิถีทางที่จะนําไปสู่เป้าหมายนั่นก็คือ การยกระดับมาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนคนในชาติในยามเศรษฐกิจดีการเพิ่มผลผลิตจะเป็นวิถีทางที่จะทําให้ทุกคนได้ผลตอบ แทนหรือค่าจ้างดีขึ้น และในยามเศรษฐกิจตกต่ำการเพิ่มผลผลิตจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์การทั้งหลาย อยู่รอดและสู้กับคู่แข่งได้ สามารถลดต้นทุนและรักษาระดับการจ้างงานไว้ได้ โดยไม่ต้องปลดคนงานออก นั่นหมายความว่า การเพิ่มผลผลิตก่อให้เกิดความมั่นคงในชวิต โลกของการแข่งขันในปัจจุบัน องค์การที่สามารถบริหารงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะสามารถยืนหยัดอยู่ในจุดที่สู้กับคู่แข่งขันได้ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่ เราต้องปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง 


ประเภทของการเพิ่มผลผลิต

ความสัมพันธ์กับลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้า
องค์กรมีวีธีการอย่างไรในการจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า องค์กรมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้มั่นใจว่าข้อร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลและทันท่วงที และองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งให้คู่ค้านำไปใช้ในกาปรับปรุง

การวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล

องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดคุณลักษณะ และทักษะที่จำเป็นของพนักงานที่องค์กรต้องการเพื่อให้ตอบสนองต่อแผนการเพิ่มผลผลิต
ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร รวมถึงการให้ข้อมูลป้อนกลับสนับสนุนการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและส่งผลต่อการบรรลุแผนปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตขององค์กรอย่างไร และการบริหารค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย ตลอดจนการให้รางวัลและสิ่งจูงใจกับพนักงานที่มีผลการดำเนินการที่ดีเหล่านั้น
องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้การสื่อสาร การแบ่งปันทักษะระหว่างผู้ที่อยู่ต่างหน่วยงาน ต่างภาระงาน และต่างสถานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานการเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ

ความเข้าใจในเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงวิสัยทัศน์การทำงาน ที่แทรกซึมเข้าไปเป็นวัฒนธรรมองค์กร
และพนักงานใช้ในการทำงานร่วมกัน
 ผลผลิตของบริษัท ที่เป็นมากกว่า ผลของการทำงาน แต่เป็นผลผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสังคม
 ความซื่อสัตย์และความโปร่งใสขององค์กร ที่ใช้ในการติดต่อการสื่อสารไปยังลูกค้า
เพื่อสร้างความไว้ใจ และความเชื่อถือให้เกิดตามมา
 การวางแผนสร้างความสัมพันธ์ระะหว่างองค์กรกับลูกค้า ให้เกิดขึ้นในระยะยาว
 พนักงานเข้าใจถึงวิธีการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
 การมองไปในระยะยาว ถึงการรักษาไว้ซึ่งมาตราฐานที่ดีขององค์กร
 การที่พนักงานเข้าใจว่า วิธีที่จะสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นๆนั้น จะต้องรีดขีดพลังความสามารถของตัวเองออกมามากที่สุด และต้องปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กร
 หัวหน้าและพนักงานมองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน และกำลังปฏิบัติการเพื่อมุ่งไปยังอนาคตนั้น
 องค์กรปรับปรุงกลยุทธ์ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งความสนใจไปที่การพัฒนาความสามารถ และเพิ่มประสบการณ์ให้กับพนักงาน
 องค์กรวางโครงสร้างในการทำงานเป็นทีม ให้เล็ก กระชับ และใช้งานได้ง่าย แต่วางเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จให้มีความยิ่งใหญ่





                             




                                
ขอขอบคูณ http://achinan.blogspot.com
สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 10

การจัดการงานอาชีพ                     การจัดการ คือ  การทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ...