วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 7

การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

1. การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

                การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ข้อแตกต่างของคำว่า ประสิทธิผล กับ ประสิทธิภาพประสิทธิผล (Effectiveness)หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้าไปและสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่องค์กรตั้งไว้


                         


                ประสิทธิภาพ (Effciency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่างไร แค่ไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเป้าหมายองค์กร วิธีการใช้ตัวเกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์กร
 เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย
 เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ
 เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน
 การใช้วิธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ


                          


การที่องค์กรจะไปสู่คุณภาพนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้ 3 วิธีคือ
 การลดต้นทุน
 การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
 การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
นิสัยแห่งคุณภาพมี 7 ประการ ดังนี้
 ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
 การทำงานเป็นทีม
 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 การมุ่งที่กระบวนการ
 การศึกษาและฝึกอบรม
 ประกันคุณภาพ
 การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม
กลยุทธ์การบริหารเชิงคุณภาพ เป็นเพียงการนำเสนอดังนี้ 

1. วงจร PDCA หรือ PDCA


                                       

2. ระบบ 5 ส หรือ 5 S


                       


3. กลุ่มระบบ QCC (Quality Contrl Circle:QCC)


                          


4. ระบบการปรับรื้อ (Re-engineering)


                        


5. ระบบ TQM (Total Quality Management)


                


2. องค์กรและการจัดการองค์กร

                ความหมายขององค์กร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน ได้นิยามความหมายของ “องค์กร” ไว้ว่าองค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจลักษณะขององค์กร องค์กรโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ   คือ
1. องค์กรทางสังคม


                         


2. องค์กรทางราชการ


                         


3. องค์กรเอกชน


                         


โครงสร้างขององค์กร

             โครงสร้างขององค์กร เป็นการมององค์กรในลักษณะที่เต็มที่ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นระเบียบ เพื่อการจัดการและบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความสำเร็จขององค์กร

 โครงสร้างขององค์กรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้ มีเป้าหมายวัตถุประสงค์มีภารหน้าที่มีการแบ่งงานกันทำมีสายการบังคับบัญชามีช่วงการควบคุมมีความเอกภาพประเภทขององค์กร องค์กรจะมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งในด้านองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ ฉะนั้นในการแบ่งประเภทขององค์กร จึงสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                    องค์กรปฐมและมัธยม 
                    องค์กรรูปนัยและอรูปนัย

                   เป้าหมายขององค์กรเป้าหมายขององค์กร เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของงอค์กร โดยคอยกำหนดแนวทางการปฏิบัติ เมื่อองค์กรมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้มีความเข้าใจในการทำงาน
หลักการจัดองค์กรครั้งนี้จะเน้นไปที่ระบบราชการ โดยมีหลักสำคัญดังนี้การกำหนดหน้าที่การงานการแบ่งงานสายการบังคับบัญชาอำนาจการบังคับบัญชาช่องการควบคุมแผนภูมิองค์กรสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการขัดองค์กรนักวิชาการได้กล่าวถึงหลักการจัดองค์กรไว้หลายประการ แต่โดยสรุปได้ดังนี้

1. องค์กรมีเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานในการดำเนินงานอย่างชัดเจน เพื่อให้เพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกองค์กรทราบ ซึ่งจะทำให้การบริหารองค์กรดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

2. องค์กรต้องจัดให้มีศูนย์กลางในการอำนวยการที่มีและสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและอำนวยการโดยตรง

3. องค์กรจะต้องระบุหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนให้ชัดเจนมีการแบ่งแยกหน้าที่ตามความเหมาะสม ตรงตามความรู้ความสามารถ

4. องค์กรต้องจัดระบบการทำงานอย่างเหมาะสม มีเทคนิคในการควบคุมงาน และการประสานงานในองค์กร

5. องค์กรต้องมีระบบการสื่อสารที่ดี มีหลักอำนวยการ การวินิจฉัยสั่งการที่ดี
ขั้นตอนการจัดองค์กรการจัดองค์กรมีประสิทธิภาพนั้น เออร์เนสต์ เดล ได้เสนอแนะไว้เบื้องต้น 3 ขั้นตอน ดังนี้การกำหนดรายละเอียดของงานการแบ่งงานให้แต่ละคนในองค์กรได้รับผิดชอบตามความเหมาะสมการประสานงาน

3. พฤติกรรมในองค์กรพฤติกรรมในองค์กร

                องค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฎิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของ  สิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ในองค์กร 3 ระดับ คือ

1. พฤติกรรมบุคคล (Individual Behavior)


                        

2. พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior)


                        

3. พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior)


               


ความพึงพอใจในการทำงาน หมายถึง สภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก และเจตคติของบุคคลที่มีต่องานที่เขาปฎิบัติอยู่ โดยแสดงออกมาเป็นความสนใจ กระตือรือร้น เต็มใจและสนุก ร่าเริง เป็นต้น เมื่อผู้ปฎิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ เขาก็จะมีความพยายาม อุตสาหะ มีความสุขในการทำงาน และความมุ่งมั่นจนงานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์ความสำคัญของความพึงพอใจในการทำงาน วิธีการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลมี 3 วิธีการ คือ

 วิธีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Managerial Approach)

 วิธีการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Approach)

 วิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Managemrnt)




                   




          
ขอขอบคุณ http://natty17112540.blogspot.com
สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 10

การจัดการงานอาชีพ                     การจัดการ คือ  การทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ...