




What : จะทำอะไร

Why : ทำไปทำไม

How : มีวิธีการขั้นตอนอย่างไร

When : งานนั้นจะเริ่มต้นเมื่อไรและสิ้นสุดเมื่อไร

Resources : ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างและวัตถุดิบจะได้มาอย่างไร

By Whom : ใครเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย

Expected Output : ผลที่องค์การคาดหวังว่าจะได้รับ

Evaiuation : การวัดและประเมินผลขององค์การทำด้วยวิธีการใด



การวางแผนที่ดีจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์การและการบริหารงานดังนี้

ทั้งนี้เพราะการวางแผนและควบคุมเป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการคู่แข่งถ้าไม่มีการวางแผนก็ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ การควบคุมเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผน ดังนั้นแผนจึงเป็นตัวกำมาตรฐานของการควบคุมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน

องค์การต้องการเป็นจุดเริ่มต้นเป็นงานขั้นแรกถ้าการกำหนดเป้าหมายนั้นมีความชัดเจนก็จะช่วยให้การบริหารจัดการแผนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

วางแผนที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมาจากพื้นฐานข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นแล้วทำการวิเคราะห์คาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งอาจจะเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดในแผนเพื่อลดความไม่แน่นอนลงการ วางแผนที่ดีจะต้องหาแนวทางที่ป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

ส่วนย่อยต่าง ๆ มีการประสานสัมพันธ์กันดีกิจกรรมที่ดำเนินการมีความต่อเนื่องกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้ทัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์ออย่างเต็มที่และคุ้มค่า เป็นการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ซ้ำซ้อนหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่ประสานกัน

เพราะการวางแผนจะเกี่ยวข้องกับการขยายขออบข่ายการทำงานการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

จุดมุ่งหมายขององค์การ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดวางไว้มุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายเดียว
กันและเป็นการหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในงานของแต่ละฝ่าย หรือแต่ละหน่วยงานย่อยขององค์การ

ทำงานของกลุ่มผู้บริหารในองค์การและยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มของพนักงานที่ทราบอย่างชัดเจนว่าองค์การคาดหวังอะไร

สิ่งที่ช่วยให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากการวางแผนจะต้องมีการระดมสมองจากคณะผู้ทำงาน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ นำมาใช้ประโยชน์แก่องค์การข้อจำกัดของการวางแผน

การปฏิบัติและกระทำได้ตลอดช่วงการททำงาน เพราะแผนงานนั้นต้องระบุขั้นตอน กระบวนการ ทำให้องค์การทราบว่าจะต้องประเมินหรือตรวจสอบอะไรและเมื่อไร เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างการปฏิบัติงาน จึงสามารถแก้ปัญหาหรือปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานได้ทันท่วงทีทำให้องค์การปฏิบัติงานไปจนถึงจุดหมายได้


การวางแผนที่ดีย่อมนำไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังของงาน แต่ในทางปฏิบัติ การวางแผนนั้น
มักจะมีข้อจำกัดหรืออุปสรรคในการวางแผนออยู่บ้าง ข้อจำกัดหรืออุปสรรคเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานข้อจำกัดการวางแผนพอสรุปได้ดังนี้

และพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมาย และกิจกรรมที่ต้ องงดำเนินงานถ้าในขณะที่ทำกางวางแผนนั้นได้รับข้อมูลที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือไม่ได้ ก็จะส่งผลให้การวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ผิดพลาดกากำหนดเป้าหมายและวิธีการทำงานก็จะผิดพลาดไปด้วย ข้อมูลจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการวางแผน การวางแผนเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย


วางแผนขาดข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ ฯลฯ

ทำให้การสื่อสารการมอบหมายการดำเนินงาน ฯลฯ ไม่สอดคล้องหรือตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่แท้จริง


เช่น นโยบายของรัฐ เศรษฐกิจ การเมืองอาจนำไปสู่การต่อต้านจากกลุ่มพนักงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้กระบวนการวางแผนขาดประสิทธิภาพได้

อุปสรรคต่าง ๆ หากผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจและเข้าใจเอาว่าการประเมินผลเป็นการจับผิดหรือตรวจสอบสมรถภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติ จึงไม่อยากให้ความร่วมมือเท่าที่ควรทำให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน



การแบ่งประเภทของการวางแผน มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับองค์การจะยึดถือสิ่งใดเป็นเกณฑ์โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้




การวางแผนประเภทต่าง ๆ ดังกล่าวจะประกอบด้วย แผนงานหรือโครงการย่อยต่าง ๆ เข้าไว้ เช่น แผนการปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอีกหลายกิจกรรมก็ได้






เป็นงานขั้นเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเริ่มวางแผน เตรียมความพร้อมในด้านการจัด
องค์การ (เช่น แต่งตั้งให้มีฝ่ายวางแผนซึ่งอาจจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารหรือฝ่ายวิชาการ) องค์การ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน การกำหนดวิธีการวางแผน (คณะกรรมการต้องช่วยกันคิดว่า จะต้องทำอย่างไรมีขั้นตอนอย่างไร และจะต้องมีคณะกรรมการหรือหน่วยงานอื่นมาร่วมในการวางแผนหรือไม่ ฯลฯ) และการรวบรวมข้อมูล (ให้หน่วยงานทุกหน่วยเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและทุกด้านและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ)

การวิเคราะห์ปัญหานี้พิจารณาจากงานในภารกิจและความรับผิดชอบงานต่าง ๆ ใน
หน่วยงานนั้น ๆ ทั้งงานที่จำเป็นต้องทำและที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำว่า มีปัญหาในงานใด
จะต้องปรับปรุง เพิ่ม หรือลดในงานตรงส่วนใดบ้างหรือจะขยายงานเดิมให้มีประสิทธิภาพ
ขึ้นอย่างไรบ้างนอกจากนี้ยังต้องพิจารณางานที่จะทำขึ้นใหม่ จะริเริ่มงานใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมตลอดถึงแนวนโยบายขององค์การได้อย่างไร
การพิจาณาและวิเคราะห์ปัญหานี้จะต้องอาศัยเครื่องมือการศึกษา และพิจารณาจากข้อมูลสถิติต่าง ๆ และแยกปัญหาหรือข้อมูลในแต่ละด้านและบันทึกรายกาต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาคิดจัดทำงานหรือแก้ปัญหาเหล่านั้นให้เป็นแผนงานหรือกิจกรรมต่อไป

พิจารณาและวิเคราะห์ปัญหา คณะกรรมการการวางแผนควรวิเคราะห์ว่า มีวิธีแก้ไข
หรือปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ทั้งสิ่งที่มีผลโดยตรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อต่าง ๆ จัดแบ่งเป็นกลุ่มที่เรียกว่า แผนงาน ซึ่งหมายถึง จุดรวมของหน่วยงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลรวมที่คล้ายคลึงกัน เช่น แผนงานพัฒนาและปรับปรุงด้านการผลิตขององค์การ งานพัฒนาบุคลากร ฯลฯ ในแต่ละแผนงานนั้น จะมีแผนงานที่เป็นส่วนย่อยของแผนงานนั้น เช่น ในแผนงานการพัฒนาและปรับปรุงงานด้านการผลิต อาจจะประกอบด้วยงานการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตการประเมินวิธีการทำงานการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน การประเมินผลผลิต เป็นต้น ซึ่งในแต่ละงานนั้น อาจมีกิจกรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กิจกรรมก็ได้

การที่จะทำงานตามแผนงานผู้ปฏิบัติจะต้องทราบเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ให้
ชัดเจนเสียก่อน การกำหนดเป้าหมายจึงต้องกำหนดให้ชัดเจนทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเป้าหมายที่องค์การกำหนดนั้นควรชี้แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน เป้าหมายที่กำหนดอาจเป็น
1) จัดอบรมพนักงานฝ่ายการผลิตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2) จัดให้มีการศึกษาดูงานสำหรับหัวหน้างานแต่ละแผนกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นต้น

การกำหนดวิธีการดำเนินงานนี้ ผู้บริหารจะต้องคิดถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการใน 3 ด้าน คือ
การกำหนดวิธีปฏิบัติงาน การกำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบและการกำหนดวิธีประเมินผล
การกำหนดวิธีปฏิบัติงานนั้นต้องอาศัยข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วพิจารณาว่าการที่จะทำงานนั้น ๆ ให้ลุล่วงได้ดีจะมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง บันทึกแนวคิดทั้งหมดไว้ และนำมาวิเคราะห์ว่าวิธีการใดจะดีที่สุดบางครั้งอาจจะนำแนวคิดหลาย ๆ แนวคิดมาผสมผสานกันและจัดเรียงลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน และต้องกำหนดว่างานแต่ละอย่างจะต้องเริ่มต้นทำเมื่อใดและเสร็จสิ้นเมื่อใด ใช้เวลามากน้อยเพียงใด และ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ การกำหนดวิธีปฏิบัติงานการกำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบนี้ถ้าจัดทำเป็นแผนภูมิปฏิบัติงาน (Gantt chart) ก็จะดูได้ง่ายขึ้น
สำหรับการกำหนดวิธีการประเมินผลนั้น ควรระบุว่า จะวัดอะไร วัดเมื่อไร และใช้เครื่องมือประเภทใด หากมีข้อพกพร่องก็จะได้รีบปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที

องค์จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยพิจารณาถึงทรัพยากรที่มีอยู่ การปฏิบัติงานแต่ละ
ขั้นตอนตามที่กำหนดไว้ว่า จะต้องทำอะไรบ้างและจะต้องใช้จ่ายเงินเพื่อทำกิจกรรมนั้น ๆ เป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงไร และรวมเงินที่ต้องใช้จ่ายทั้งหมดเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงไรค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะได้มาจากแหล่งเงินทุนใดควรระบุไว้ให้ขัดเจนด้วย
ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 6 เป็นกระบวนการวางแผนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน เมื่อวางแผนงานเรียบร้อยผ่านการตรวจสอบ และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจให้ดำเนินการได้แล้วก็จะถึงขั้นการปฏิบัติตามแผน

ขั้นตอนนี้เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่องค์การได้กำหนดไว้ ขั้นนี้จะต้องอาศัยความรู้ทางการบริหาร การสั่งการ การตรวจงาน การประสานงาน การตัดสินใจ ภาวะผู้นำและกฎระเบียบการปฏิบัติงานตามที่หน่วยงานกำหนดสิ่งต่าง ๆเหล่านี้จะรวมอยู่ในขั้นตอนการนำเข้ากระบวนการผลิต และผลผลิต งานจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารว่ามีความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และภาระของงานมากน้อยเพียงใด

การประเมินผลการปฏิบัติองค์การจะต้องมีการกระทำเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจดูความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคของกระบวนการทำงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าพบว่ามีปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในขั้นตอนใด ก็จะต้องมีการปรับปรุงแผนที่กำหนดไว้
การวางแผน เป็นการกำหนดแนวทางการทำงานขององค์การในอนาคตซึ่งกระทำไว้ล่วงหน้าเมื่อลงมือปฏิบัติงานจริง ๆ บางอย่างอาจไม่เป็นอย่างที่คิดหรือวางแผนไว้ จึงต้องมีการปรับปรุงแผนหรือเปลี่ยนแผนใหม่ตามความเหมาะสม


การวางแผนที่มีประสิทธิภาพองค์การสามารถทำได้ดังนี้












ขอขอบคุณ http://toorsicc.blogspot.com
สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น